เพื่อก้าวสู่การเป็น 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่มีเรือผ่านท่ามากที่สุด การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงผลักดันโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง โครงการขั้นที่ 3 เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางการขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นประตูการค้าของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Gateway Port of the Sub Region) และเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงข้อมูลทางการค้า การคมนาคมขนส่ง รวมทั้งขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของประเทศ1 โดยจะใช้ระยะเวลาการดำเนินงานทั้งหมด 10 ปี (พ.ศ. 2554 – 2563)

ปัจจุบันโครงการนี้ยังอยู่ในช่วงของการสำรวจเพื่อพิจารณาผลกระทบในด้านต่างๆ โดยทางการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมทั้งออกแบบรายละเอียดโครงการ โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยมุ่งหวังที่จะพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือพาณิชย์ระดับโลก (World class port) โดยเร่งพัฒนาการให้บริการที่รวดเร็ว ลดช่วงเวลาเรือรอเทียบท่า (Waiting time) เพิ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการเป็นท่าเรือพาณิชย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ลักษณะแอ่งจอดเรือ รูปตัวยู (U)
ขนาดแอ่งจอดเรือ  กว้าง 800 เมตร ยาว 2,000 เมตร และขยายเป็น 3,000 เมตรในอนาคต
ความลึกบริเวณแอ่งจอดเรือ 18 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ความลึกร่องน้ำทางเดินเรือจากทะเลสู่ท่าเทียบเรือ 18 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ขนาดเรือที่สามารถรองรับได้ Super Post Panamax (ขนาด 100,000 DWT บรรทุกตู้สินค้าได้มากกว่า 10,000 ทีอียู
จำนวนท่าเทียบเรือ แบ่งเป็น 9 ท่า
- ท่าเทียบเรือตู้สินค้า
- ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไปและตู้สินค้า
- ท่าเทียบเรือรถยนต์ (Ro/Ro) 7 ท่า1 ท่า1 ท่า

ความสามารถในการรองรับสินค้า8 ล้านทีอียู

สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคนอกเหนือจากโครงการขั้นที่ 1

-
เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานไฟฟ้า
- นวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย อาทิ เครนยกตู้ไร้คนขับ  

หมายเหตุ -. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 - 30 ม.ค. พ.ศ. 2

laemchabangportphase3.com - บริการอย่างมืออาชีพ

สนใจติดต่อโฆษณา support@geniusgraphic.com

@2024 laemchabangportphase3.com